สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของตำบล
ตำบลท่าโพธิ์ชัยเดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลเย้ยปราสาท ราษฎรที่มาตั้งถิ่นฐาน ทำมาหากินและอยู่อาศัย มาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดขอนแก่น และตามอำเภอนางรองของจังหวัดบุรีรัมย์
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (1326)
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ตั้งอยู่เลขที่ 103 /1 หมู่ที่ 1 บ้านลุงขี้หนู ตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีรอบนอกเขตเทศบาลตำบลหนองกี่ ตำบลท่าโพธิ์ชัย เป็นตำบลหนึ่งใน 10 ตำบลของอำเภอหนองกี่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองกี่ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นระยะทางประมาณ 78 กิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลท่าโพธิ์ชัย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ย 200 เมตร ด้านตะวันตกและด้านตะวันออกเป็นที่สูง และลาดต่ำลงมาทางตอนกลาง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนด้านทิศเหนือเป็นที่ราบสูง มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 24 ตัดผ่านทางตอนใต้ของตำบลท่าโพธิ์ชัย
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของตำบลท่าโพธิ์ชัย มีลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 800 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด ประมาณ 14 องศา
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 75 % ดินลูกรังประมาณ 15 % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10 %
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
ฝนที่ตกในตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ ส่วนใหญ่เป็นฝนที่เกิดจากพายุดีเพรสชั่น ซึ่งเคลื่อนตัวมาจากทะเลจีนใต้ ผ่านประเทศเวียดนามและลาว เข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีใดพายุดีเพรสชั่นเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือน้อย จะมีความแห้งแล้งและปริมาณฝนน้อย เป็นผลให้ต้องมีแหล่งน้ำอื่นๆไว้อุปโภค บริโภค
-แหล่งน้ำสาธารณะ จำนวน 10 แห่ง
-แหล่งน้ำตามธรรมชาติ จำนวน 8 แห่ง
-แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น จำนวน 22 แห่ง ประกอบด้วย
* บ่อบาดาล จำนวน 13 แห่ง
* บ่อน้ำตื้น จำนวน 4 แห่ง
* ถังเก็บน้ำฝน (คสล.) จำนวน 5 แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัยมีแหล่งน้ำที่ทางกรมชลประทาน ขุดลอก จำนวน 4 แห่ง และทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ร่วมกับหน่วยงานอื่นทำการขุดลอกอีกหลายแห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการขุดเพื่อให้ประชาชนใช้สำหรับทำการเกษตร
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ส่วนใหญจะพบป่าชนิด ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่ในบริเวณดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทั้งในที่ราบและเนินเขา มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้มีขนาดเล็ก แคะแกร็น พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ไม้เต็งรัง เหียง พลวง และตำบลท่าโพธิ์ชัยยังมีป่าชุมชน ป่าชุมชนบ้านหนองกราด ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกราด หมู่ 5 ต.ท่าโพธิ์ชัย อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ ปีที่เริ่มโครงการคือ 2549 เนื้อที่ 44 ไร่ 1 งาน ตารางวา เป็นป่าประเภท ป่าสงวนแห่งชาติ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลท่าโพธิ์ชัยเดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลเย้ยปราสาท ราษฎรที่มาตั้งถิ่นฐาน ทำมาหากินและอยู่อาศัย มาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดขอนแก่น และตามอำเภอนางรองของจังหวัดบุรีรัมย์ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (1326) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ตั้งอยู่เลขที่ 103 /1 หมู่ที่ 1 บ้านลุงขี้หนู ตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีรอบนอกเขตเทศบาลตำบลหนองกี่ ตำบลท่าโพธิ์ชัย เป็นตำบลหนึ่งใน 10 ตำบลของอำเภอหนองกี่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองกี่ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นระยะทางประมาณ 78 กิโลเมตร
อาณาเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย มีเนื้อที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด 51.90 ตาราง
กิโลเมตรหรือประมาณ 32,437.50 ไร่ มีจำนวน 9 หมู่บ้าน ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ คือ
ทิศเหนือ จดเขต อบต.เมืองไผ่ อำเภอหนองกี่
ทิศใต้ จดเขต อบต.ทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่
ทิศตะวันออก จดเขต อบต.หัวถนน อำเภอนางรอง
ทิศตะวันตก จดเขต อบต.เย้ยปราสาท และอบต.ทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่
องค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเขตการปกครองดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านลุงขี้หนู
หมู่ที่ 2 บ้านโคกกระพี้
หมู่ที่ 3 บ้านหนองนกเขา
หมู่ที่ 4 บ้านคูขาดน้อย
หมู่ที่ 5 บ้านหนองกราด
หมู่ที่ 6 บ้านหนองสะแบง
หมู่ที่ 7 บ้านโคกเพชร
หมู่ที่ 8 บ้านไร่ไถ
หมู่ที่ 9 บ้านหนองบอน
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น 2 เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1
เขตเลือกตั้งที่ 2
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัยส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานองค์การบริหารส่วนตำบล เสนอแนะในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
2.3 ประชากร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 4,496 คนแยกเป็นชาย 2,227 คนหญิง 2,229 คนจำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 1,045 หลังคาเรือนเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่รวมทั้งหมดจะมี 86.44 คน /ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย จำนวน 4,496คน แยกตามหมู่บ้าน
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ครัวเรือนทั้งหมด |
จำวนประชากร |
เฉลี่ย คน/ครัวเรือน |
หมายเหตุ |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||||
1. |
บ้านลุงขี้หนู |
136 |
243 |
250 |
525 |
5 |
|
2. |
บ้านโคกกระพี้ |
104 |
225 |
221 |
443 |
5 |
|
3. |
บ้านหนองนกเขา |
80 |
164 |
185 |
349 |
5 |
|
4. |
บ้านคูขาดน้อย |
122 |
290 |
282 |
579 |
5 |
|
5. |
บ้านหนองกราด |
188 |
415 |
391 |
809 |
5 |
|
6. |
บ้านหนองสะแบง |
108 |
214 |
204 |
421 |
5 |
|
7. |
บ้านโคกเพชร |
115 |
242 |
246 |
490 |
5 |
|
8. |
บ้านไร่ไถ่ |
93 |
185 |
177 |
364 |
5 |
|
9. |
บ้านหนองบอน |
115 |
217 |
246 |
536 |
5 |
|
รวม |
1,061 |
2,267 |
2,229 |
4,496 |
5 |
|
ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงอายุ 0 – 59 เป็นชาย = 1,367 คน เป็นหญิง = 1,529 คน รวม 2,896 คน
ช่วงอายุ 60 – 70 เป็นชาย = 665 คน เป็นหญิง = 502 คน รวม 1,167คน
ช่วงอายุ 70 – 80 เป็นชาย = 199 คน เป็นหญิง = 157 คน รวม 356คน
ช่วงอายุ 80 – 90 เป็นชาย = 26 คน เป็นหญิง = 29 คน รวม 55คน
ช่วงอายุ 90 – 100 เป็นชาย = 10 คน เป็นหญิง = 12 คน รวม 22 คน
File | File size |
---|---|
![]() | 94 kB |